![thaiall logo](rspthaiall.webp)
วัดไหล่หิน วัดไหล่หินหลวง วัดเสลารัตนปัพพตาราม
| |
วัดไหล่หิน วัดไหล่หินหลวง วัดเสลารัตนปัพพตาราม
วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม คือ วัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ เกาะหนึ่ง ในท้องที่หมู่ที่ 2 ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ห่างจากตัวอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 ก.ม.เศษ มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์ประมาณ 50 ไร่เศษ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 218
|
อ่านเพิ่มเติม
1
2
3
ประเพณีตานก๋วยฉลาก ณ วัดไหล่หินหลวง
|
บันทึกในบล็อก
12ก.ย.52 ได้จัดก๋วยและฉลากไปทานที่วัดไหล่หินหลวง ถึงญาติสนิทผู้ล่วงลับ 3 ท่าน คือ ตาแสน ยายแก้ว และยายนี เป็นประเพณีที่ทำกันทุกปีในบ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีเพื่อนบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียง มาร่วมตานกันทุกปี ประเพณีนี้เรียกว่า “ตานก๋วยฉลาก” โดยชาวบ้านเช่น ครอบครัวของผม จะดาครัว หรือเตรียมก๋วย สมัยก่อนใช้ไม้ไผ่สานเป็นก๋วยหรือภาชนะใส่ของ แล้วใช้ใส่ข้าวของเครื่องใช้ อาหารคาวหวานใส่ลงไป ผู้ล่วงลับจะได้พกพาไปไหนได้สะดวก ปัจจุบันเห็นใช้ตะกร้าพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็ยังใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของตาน อาจใช้ย่าม กะละมังก็ทำได้ สำหรับของที่ตาน หรืออุทิศไปให้ผู้ล่วงลับอาจมีบ้านจำลอง เตียง หงส์จำลอง นกจำลอง หรืออะไรต่อมิอะไรตามจิตศรัทธา เป็นของตาน
ช่วงเช้าไปถึงวัดก็จะเอาฉลาก หรือเส้นไปลงทะเบียนกับกรรมการวัด เพื่อจัดสรรมอบให้พระสงฆ์ หรือเณรที่มาจากวัดใกล้เคียงรวมกว่า 100 รูป และผู้เกี่ยวข้อง เพราะมีเส้นในปีนี้กว่า 4000 เส้น ก็คือของตาน 4000 ชุดจากหลายร้อยครอบครัว สำหรับพระที่ได้รับเส้นหรือฉลากมา อาจมอบให้กรรมการวัดไปตามหา แล้วนำมาจัดสรรในภายหลัง มีความเชื่อว่าถ้าของตานชุดใดถูกรับไปก่อน หมายถึงผู้ล่วงลับมารับส่วนบุญไปเร็ว ชุดใดออกช้า แสดงว่ายังไม่มารับ แต่สุดท้ายก็ได้ตานทุกชุด ต่างกันเพียงแต่ว่าจะหมดช้าหรือหมดเร็ว แต่ละครอบครัวจะเตรียมก๋วยไว้หลายชุด บางบ้านมากกว่า 10 ชุด เพราะมีญาติที่ล่วงลับไปแล้วหลายคน
เมื่อผมไปถึงวัดก็พบคุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ในฐานะกรรมการวัดที่มีบทบาทสำคัญในการจัดงานนี้ จึงขอถ่ายภาพท่านมาเขียน blog และนานนานครั้งผมจะได้มีโอกาสไปร่วมงาน เพราะถ้าวันงานตรงกับวันทำงานก็จะมอบให้ญาติท่านอื่นไปทำหน้าที่ ครอบครัวผมมีคนมารับตานเร็ว กลับถึงบ้านประมาณ 12.30 น. ออกบ้านกันแต่เช้าตั้งแต่ 09.00 น. เพราะมีพิธีทางศาสนาในศาลา ที่กระทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ก็ต้องลุ่นว่าปีต่อไปจะนำลูก ๆ ไปร่วมกิจกรรมนี้ได้อีกหรือไม่ ก็ภวนาให้เป็นวันหยุด .. จะได้ไปร่วมตานอีก
|
4
ประวัติหลวงพ่อมหาป่า เกสระปัญโญ
ข้อมูลจาก : !http://www.watlaihinluang.com/historymahapar.php
|
วัดไหล่หินหลวงปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลไหล่หินอำเภอเกาะคาจังหวัดลำปางเป็นวัดที่มีประวัติความ
เป็นมาอันยาวนานเกี่ยวกับความศรัทธาที่ต่อพระพุทธศาสนามีพระมหาเถระรูปหนึ่งที่ทรงอภิญญาพระเถระรูปนั้นก็คือ พระมหาป่าเกสระปัญโญพระที่อาศัยการธุดงค์วัตรเป็นสำคัญ โดยมีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้
เมื่อราว พ.ศ.2179 ระยะที่สกุลขุนตานสุตตาเมืองเถินชวลกุลบุตรอยู่ที่ตำบลลำปางหลวงและมี
ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างพระเถระลำปางหลวงวัดปงยางคกวัดลำปางหลวงมีเรื่องราวครูบามหาป่าวัดหินแก้ว(วัดไหล่หินหลวงในปัจจุบัน)หรือวัดหินล้นได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวง(ตามพงศาวดารเถิน)
เมื่อ พ.ศ. 2226 ปรากฏชื่อจารึกไว้บนแผ่นไม้วิหารวัดไหล่หินมีใจความว่า " จุลสักกปตได้ 1045 ตัว ปีป่าไก่เดือน 4เป็งเม็ง 4 ไตเต้าสง้า พระหมาป่า เกสระปัญโญเป็นเจ้ามูลประธานกับทั้งศิษยานุศิษย์ทั้งหลายได้ชักเชิญ พระสังฆเจ้าดาแปลงยังเสลารัตนปัพพตารามหลังนี้ และศรัทธานาบุญตังหลายทั้งมวลชุคน จุงมาอนุโมทนามาเตอะ" พระมหาป่า เกสระปัญโญรูปนี้นับเป็นพระเถระองค์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดสูงเม่นเมืองแพร่อย่างมากปรากฏเรื่องราววัดสูงเม่งเมืองแพร่เคยเดินทางมาขน
เอาคัมภีร์ครูบามหาป่าเกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวงถ่ำดอยฮาง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราว 10 กิโลเมตรเศษนำขึ้นช้างพลายต่าง(นำใส่หลังช้าง) กลับเมืองแพร๋ประวัติการถ่ายทอดพระคัมภีร์ของพระมหาป่าวัดไหล่หินหลวง ของครูบาวัดเม่นเมืองแพร่ ปรากฏในหลักฐานคัมภีร์สถาวกัณณี มีความที่เจรจาไว้ท้ายตำนานผูกที่ 3 จารเมื่อ จ.ศ.1201 (พ.ศ.2398) ว่า
"อุบาสกมูลศรัทธา หนานมณีวรรณค้ำชูครูบาเจ้าวัดสูงเม่น เมืองแพร่มาเมตตาในวัดป่าหินแก้วกล้างริมยาวไชยวรรณแล " คำจารในสถาวกัณณีฉบับดังกล่าวแสดง
ว่าการคัดตำนานจากต้นฉบับของพระมหาป่า เกสระปัญโญร้อยกว่าปี และเป็นสมัยที่ผ่านเข้ามาถึง สมัยเจ้าวงศ์ 7ตนครองเมืองนครลำปางแล้ว ปัจจุบันคงเหลือแต่ต้น
ฉบับที่คัดไว้นี้ไว้ที่ วัดไหล่หิน ตังจริงคงจะไปอยู่ที่วัดสูงเม่นเมื่อ พ.ศ.2382 ประวัติพระมหาป่า เกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวง คู่กับประวัติมหาปัญโญ วัดพระธาตุลำปางหลวง คือ เป็นพระองค์ฟี่และ
องค์น้อง เดิมฟี่น้องทั้งสองคนนี้ เป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุเสด็จ เป็นชาวบ้านแม่แก้ เขตตำบลลำปาง ต่อมาสามเณรองค์ฟี่ได้ไป
ศึกษาที่วัดป่าซางเมืองลำพูน เป็นสามเณรที่มีความผิดแปลกไปจากสามเณรรูปอื่น ๆ ตรงที่ว่าเงียบขรึม ท่องบ่นธรรมคัมภีร์โดยไม่ยอมออกเสียง
เหมือนกับสามเณรรูปอื่น และชอบเขียนตัวอักษรบนใบลาน ความเงียบขรึมของสามเณรเกสระนี้เองที่ทำให้เจ้าอธิการวัดป่าซางเฮือก ลำพูน วิตกกังวลเรื่องการเทศน์ เกรงว่าจะแข่งกับสามเณรอื่น ที่มี
ความขยันไม่ได้ ในการท่องบ่นพระธรรมกันเจื่อยแจ้วในระหว่างพรรษาหนึ่ง เจ้าอธิการได้มอบธรรมเวสสันดรชาดก ให้ท่องบ่น ก็มิเห็นสามเณรรูปนั้นท่องบ่น
ครั้งถึงวันเทศกาลออกพรรษาแล้ว มีการตั้งธรรมหลวง สวดเบิก และเทศนาจับสลาก เจ้าผู้ครองนครลำพูนจัดได้กัณฑ์ มหาพนและตรงกับเวรสามเณรเกสระเจ้าอธิการมีความวิตกกังวลมากที่สุดแต่ปรากฏว่า สามเณรเกสระสามารถเทศน์ได้โดยปากเปล่า โดยมิต้องอาศัยการอ่าน เทศน์ได้ถูกต้อง นอกจากนี้เวลามีการรวบรวมคัมภีร์ต่าง ๆที่กระจัดกระจาย เชือกผูกหลุดหลายคัมภีร์ใบลานปะปนกันหลายผูก สามเณรรูปนี้ก็สามารถรวบรวมปะติดได้อย่างคล่องแคล่วเก็บเรียบร้อยเข้าที่เดิมซึ่งเป็นวิธีสอบปฏิภาณแบบหนึ่ง เจ้าอธิการซึ่งก็ทรงทราบแต่บัดนั้นว่า " สามเณรเกสระ มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งเหนือกว่าสามเณรรูปอื่น ๆ เป็นที่เลื่อมใสตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าซางเมืองลำพูน พระมหาป่า เกสระปัญโญ ซึ่งในคำจารึกบนแผ่นไม้ในการสร้างพระวิหาร ในปีพ.ศ.2226ประวัติศาสตร์พื้นฐานปริยัติที่ได้จาลำพูน แต่ท่านก็เป็นพระที่ถือธุดงค์วัตรจนมีชื่อเป็นพระมหาป่ารูปหนึ่ง ของวัดไหล่หิน แต่ท่านจะเป็นองค์เดียวกับพระมหาป่าวัดไหล่หิน ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลำปางกลาง ตามที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเถินหรือไม่ ไม่อาจจะยืนยันได้ในขณะนี้ แต่เมื่อพิจารณาความตามพงศาวดารเถินน่าจะอยู่ในระยะเหตุการณ์ เดียวกัน โดยในประเพณีให้วัดเมืองเถินและวัดลำปางหลวง เป็นครูเดียวกันปฏิบัติเยี่ยมเยือนกันเป็นประเพณีคือวัดเวียง วัดอุมลอง วัดล้อมแรด วัดห้วยเกี่ยง วัดป่าตาล วัดห้างนา ในสายเถิน ลายลำปาง มีวัดลำปางหลวง วัดลำปางกลาง วัดไหล่หินหลวงวัดปงยางคก คือเป็นวัดครูในเครือเดียวกันสืบมา ผลงานของพระมหาป่า เกสระปัญโญ แห่งวัดไหล่หินหลวง เป็นที่แพร่หลายด้วยการจารใบลานไว้มาก ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ทางศักราชจารึก สมัยพระมหาป่า เกสระปัญโญสร้างพระวิหารวัดไหล่หินหลวงในปี พ.ศ. 2226 และความสมบูรณ์เป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบันนี้เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นของนักศึกษานักวิชาการ จิตกรในปัจจุบัน..........
|
5
6
7
8
9
10
11
12
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 235 มิลลิวินาที สูง: 11158 จุด กว้าง: 1264 จุด |